ระบบกรองในตู้ปลา
ปลาเมื่อมาดำรงชีวิตอยู่ในตู้ปลาซึ่งเป็นระบบปิดซึ่งน้ำไม่มีการไหลเวียน
เปลี่ยนถ่ายมากนักเมื่อเทียบกับการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ในขณะที่มีการให้อาหาร
ซึ่งปลาอาจได้รับอาหารมากกว่าในธรรมชาติเสียอีกเนื่องจากผู้เลี้ยงทุกคนต้องการ
ให้ปลาของตนโตเร็วๆและ มีความสวยงาม ในเรื่องนี้ สัตวแพทย์ได้สรุปว่า ปัญหาหลักของปลาตู้ที่เจ็บป่วยมาจากการให้อาหารที่มากเกินไป
สรุปก็คือการให้อาหารปลาที่มากเกิน เป็นโทษต่อปลามากกว่าการให้อาหารที่น้อย จากการให้อาหารที่มากจึงมีเศษอาหารที่เหลือตกค้างตามซอกหรือมุมอับต่างๆประกอบ
กับปลามีการขับถ่ายของเสียอยู่ตลอดเวลา ของเสียเหล่านั้นก็หมุนเวียนอยู่ในตู้ปลา
และเมื่อสะสมมากเข้าก็เกิดการเน่าเหม็น เป็นพิษต่อปลาที่เลี้ยงอยู่ในตู้ การแก้ไขทำได้โดยการกำจัดของเสียที่มีอยู่ออกไปก็คือ
- การเปลี่ยนน้ำ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ในการนำเอาของเสียที่สะสมอยู่ในน้ำออกไปบางส่วน
โดยการเปลี่ยนน้ำพร้อมกับการดูดของเสียที่หมักหมมอยู่บริเวณกรวดทรายบริเวณ
พื้นตู้ออกไปบางส่วน โดยใช้สายยางต่อกับขวดพลาสติกปากกว้างเช่นขวดน้ำอัดลมยี่ห้อต่างขนาดประมาณ
1 ลิตร ดูดขี้ปลาออกโดยที่กรวดและทรายจะไม่หลุดออกไป แต่ถ้าเราใช้เพียงสายยาง
กรวดและทรายจะหลุดไปกับการถ่ายน้ำ และบางครั้งกรวดทรายที่มีเม็ดขนาดใหญ่จะไปอุดตันสายยางทำให้การเปลี่ยนน้ำล่าช้า
การเปลี่ยนน้ำเป็นวิธีการที่ง่ายก็จริงแต่เป็นงานหนักของผู้เลี้ยงที่ต้องเปลี่ยนถ่ายในทุกๆ1-2
สัปดาห์ถ้าปลาที่เลี้ยงมีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่การเปลี่ยนน้ำอาจต้องบ่อยครั้งกว่านี้
ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเครื่องมือมาเพื่อลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำซึ่งก็คือระบบกรองซึ่ง
จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
- การใช้แผ่นกรองใต้พื้นทรายควบคู่ไปกับ ปั๊มออกซิเจน
ซึ่งตู้ปลาในอดีตจะมีเพียงระบบนี้ ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นระบบพื้นฐานของระบบกรองในตู้ปลา
ซึ่งเราจะพบเห็นกันอย่างชินตา และขอเรียกสั้นๆว่า ระบบกรองใต้พื้นทราย โดยระบบนี้จะมีแผ่นพลาสติกที่มีขายตามขนาดกว้างยาวของตัวตู้วางอยู่ด้านล่างสุดติดกับพื้นตู้
จากนั้นปูทับด้วยทรายหรือกรวดละเอียดแต่ต้องระวังไม่ให้ทรายหรือกรวดละเอียดตกไปใน
ช่องพลาสติกของแผ่นกรองอาจใช้แผ่นใยสังเคราะห์ปูลงบนพื้นพลาสติกก่อนที่จำทำการปูทับ
ด้วยทราย โดยกรวดทรายนอกจากจะสร้างความสวยงามให้กับตู้แล้วยังเป็นวัสดุกรองที่ดี
สามารถดูดซับสารแขวนรอยในน้ำ การกรองน้ำด้วยวิธีนี้สามารถลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำทำให้ผู้เลี้ยงมีภาระที่ลดลงเป็นอย่างมาก
- การใช้ระบบกรองชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงมีให้เลือกใช้ทั้งระบบที่อยู่ภายในตู้และนอกตู้
มีให้เลือกมากมายหลายชนิดทั้งผลิตในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากทางยุโรป
ระบบของเครื่องกรองเหล่านี้ก็มีหลักการที่สำคัญ คือมีการเก็บกักของเสีย และย่อยสลายของสียที่เป็นพิษต่อปลาให้มีปริมาณที่ลดลงหรือเปลี่ยนเป็นสารที่พืชน้ำ
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ปัจจุบันระบบนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
โดยเฉพาะตู้ปลาขนาดใหญ่ตั้งแต่ประมาณ 30 นิ้วขึ้นไป นิยิมทำระบบนี้ติดกับตู้ปลาแบบถาวร
หรือที่ในท้องตลาดนิยมเรียกกันว่าตู้ปลากั้นกรอง วัสดุที่ใช้ในการกรองของตู้ปลาเหล่านี้
ประกอบด้วย
- ผงคาร์บอน อาจเป็นผงถ่านธรรมดา หรือผงถ่านหินแอนทราไซด์
ซึ่งมีราคาแพงกว่าผงถ่านธรรมดามากวัตถุประสงค์ก็เพื่อดูดสารแขวนลอยประเภท
โลหะหนักหรือสารเคมีที่ละลายอยู่ใน น้ำ ถ้าถ่านธรรมดาจะมีอายุการใช้งานที่ไม่เกิน
1 เดือน ถ้าคุณไม่เปลี่ยนผงคาร์บอนของคุณอาจเป็นตัวแพร่สารพิษให้กับตู้ปลาของคุณแทน
- ใยแก้ว ซึ่งทำหน้าที่ในการกรองสิ่งสกปรกและสารแขวนลอยต่างๆในน้ำ
โดยใยแก้วมีอายุการใช้งาน 2-4 สัปดาห์ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตใยแก้วว่ามีความสกปรกมากน้อยเพียงใด
ถ้าเน้นประหยัดอาจนำไปซักแล้วนำมาใช้ต่อ แต่เมื่อซักแล้วประสิทธิภาพการกรองจะลดลงจากเดิมลงไป
ถ้าไม่เสียดายอาจใช้วิธีการเปลี่ยน ซึ่งใยแก้วมีราคาไม่แพงมากนัก
- ไบโอบอล ทำด้วยพลาสติกมีลักษณะเป็นหนามเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการยึดเกาะของจุลลินทรีย์
และเป็นตัวกระจายน้ำทำให้เพิ่มปริมาณ ออกซิเจน โดยไบโอบอลส่วนมากจะวางอยู่ในชั้นที่อยู่ในอากาศหรือจมน้ำเพียงบางส่วนเรา
เรียกส่วนนี้ว่าส่วนแห้ง(dry)
- เศษประการังหหรือเซรามิค ที่มีรูพรุน โดยชั้นนี้
จะจมอยู่ใต้น้ำหรือเราเรียกว่าส่วนเปียก(wet)เพื่อให้จุลลินทรีย์อาศัยอยู่ในรูพรุน
เหล่านี้ทำหน้าที่เปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นไนไตรท์และไนเตรท เป็นอาหารแก่พืชน้ำ
ดังนั้นการเลี้ยงไม้น้ำในตู้ปลาจึงมีความจำเป็นเพราะไม้น้ำจะเป็นตัวทำให้ระบบเกิด
ความสมดุล ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดอีกครั้งในเรื่องระบบนิเวศน์ในตู้ปลา
- ปั๊มน้ำ โดยปั๊มจะทำหน้าที่ให้น้ำในตู้ปลาเกิดการไหลเวียผ่านระบบกรอง
และวัสดุกรองที่กล่าวถึงข้างต้น โดยขนาดของปั๊มมีความจำเป็นมากน้องคำนึงถึง
เพราะถ้าใช้ขนาดที่ใหญ่เกินไปจะทำให้ตู้ปลามีกระแสน้ำที่แรงเหมือนการเกิด
น้ำหลากหรือน้ำป่าไหลท่วมในฤดูฝน ทำให้ปลาต้องว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา เพราะปกติปลาจะว่ายทวนน้ำ
ทำให้เกิดความเครียดในปลาได้ แต่ถ้าปั๊มขนาดเล็กไปการกรองอาจไม่มีประสิทธิภาพ
แต่ขอแนะนำหลักคร่าวๆ ดังนี้ ตู้ปลา 36 นิ้ว ควรใช้ปั๊มประมาณ 1400 ลิตรต่อชั่วโมง
ตู้ 48 นิ้ว ควรใช้ปั๊มประมาณ 2000 ลิตรต่อชั่วโมง ตู้ 60 นิ้วควรใช้ปั๊มขนาดมากกว่า
2500 ลิตรต่อชั่วโมง ตัวเลขนี้ต้องดูที่เอกสารที่ติดอยู่ที่ปั๊ม เพราะรุ่นของปั๊มจะบอกตัวเลขสูงเกินจริงประมาณ
500 ลิตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นเรื่องการค้า ก็ไม่ว่ากัน